Thursday, February 18, 2016

Kit Kat












ขนมหวานเวเฟอร์แบบแท่งเคลือบช็อคโกแลต คิดค้นโดยโรวน์ทรี ที่เมือง ยอร์ค ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันผลิตส่งไปทั่วโลกภายใต้บริษัท เนสท์เล่ (ซึ่งซื้อกิจการโรวน์ทรีตั้งแต่ปี 1988)[1] ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่มีการผลิตภายใต้ เฮอร์ชี่่ คิทแคทหนึ่งบาร์(หรือเรียกเป็นชิ้นก็ได้) ประกอบด้วยเวเฟอร์สามชั้น เคลือบชั้นนอกสุดด้วยช็อคโกแลต แต่ละบาร์สามารถหักออกเป็นเวเฟอร์แท่งๆได้ คิทแคทหนึ่งบาร์จะประกอบไปด้วยเวเฟอร์สองหรือสี่แท่ง ส่วนคิทแคทแบบชังกี้ บาร์สจะเป็นแบบชิ้นใหญ่ๆชิ้นเดียวมีรอยแบ่งเป็นสามส่วน
ในยุคศตวรรษที่ 18 คำว่า "คิทแคท (Kit Kat หรือ Kit Cat)" ใช้เป็นชื่อเรียกอาหารชนิดหนึ่ง แต่ก่อนเคยมีการประชุมทางการเมืองที่คิท-แคท คลับในลอนดอน แล้วมีการเสิร์ฟพายเนื้อแกะ เรียกเมนูนั้นว่า คิทแคท
ปี 1911 ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ"คิทแคท" เมื่อโรวน์ทรี บริษัททำขนมหวานตั้งอยู่เมืองยอร์ค ประเทศอังกฤษ ใช้ชื่อ "คิทแคท (Kit Kat และ Kit Cat)" ในตอนแรกชื่อนี้ยังไม่ได้ใช้กันเท่าไหร่นัก จนกระทั่งช่วงปี 1920 มีคิทแคทแบบแรกออกมา, เมื่อโรวน์ทรีเปิดตัวขนมกล่องช็อคโกแลต ตั้งชื่อว่า "คิทแคท" มีการผลิตจำหน่ายต่อเนื่องจนถึงช่วงปี 1930 โรวน์ทรีก็หันมาให้ความสนใจกับสินค้าผลิตภัณฑ์ "แบล็คเมจิค" และ "ไดอารี่ บ๊อกซ์(Dairy Box)" แทน ด้วยการทำโปรโมชั่นสินค้าตัวนี้มาแทนที่คิทแคท ทำให้คิทแคทจำหน่ายได้น้อยลงมากจนต้องหยุดกระบวนการผลิตในที่สุด[2] คิทแคทบาร์แบบที่ประกอบไปด้วยเวเฟอร์สี่ชิ้นแบบดั้งเดิม เกิดขึ้นมาจากคนงานคนหนึ่งที่โรงงานโรวน์ทรีที่ยอร์คได้เขียนแสดงความคิดเห็นว่า อยากได้ขนมแบบที่ "สามารถพกใส่กระเป๋าไปที่ทำงานได้".[3] คิทแคทบาร์นี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 1935 ภายใต้ชื่อ "โรวน์ทรี ช็อคโกแลตกรุบกรอบ (โรวน์ทรี ช็อคโกแลต คริสป์)" (ราคา 2d) วางจำหน่ายที่ลอนดอนและทางใต้ของอังกฤษ[4]
ในปี 1937 ผลิตภัณฑ์ "โรวน์ทรี ช็อคโกแลตกรุบกรอบ (โรวน์ทรี ช็อคโกแลต คริสป์)" ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า "คิทแคท ช็อคโกแลตกรุบกรอบ(คิทแคท ช็อคโกแลต คริสป์)" แทน ในปีเดียวกันนี้ 'คิทแคท(Kit Kat)' เริ่มใช้กลยุทธในการโฆษณาโดยการเอาคำว่า "พัก(Break)" มาใช้[2] ในปี 1942 โทนสีและรสชาติเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเกิดสภาวะอาหารขาดแคลน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหาร รวมถึงรสชาติของ "คิทแคท" ก็เปลี่ยนจะ "เข้ม" กว่าเดิม ส่วนห่อผลิตภัณฑ์ใช้สีน้ำเงินแทน และไม่มีคำว่า "ช็อคโกแลตกรุบกรอบ(ช็อคโกแลต คริสป์)" แล้ว[5] หลังจากสงครามยุติ บนห่อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "คิทแคท(Kit Kat)" และกลับไปใช้สูตรที่ผสมนม รวมถึงสีห่อผลิตภัณฑ์ก็เป็นสีแดงเหมือนเดิม





url:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B9%81%E0       %B8%84%E0%B8%97

วิเคราะห์ KitKat กับความสำเร็จในญี่ปุ่น











1.     ความบังเอิญทางด้านภาษา
หลายคนคงจะจำภาพของ KitKat ในรูปภาพของชอกโกแลตบาร์ฉลากสีแดง  ที่มาพร้อมกับสโลแกนอันคุ้นหูว่า คิดจะพัก คิดถึง KitKat”  แต่สำหรับคนญี่ปุ่น KitKat ไม่เป็นอย่างนั่นในความคิดของพวกเขา  KitKat คือช็อกโกแลตที่มากด้วยความหมาย  “KitKat” นั้นพ้องเสียงกับคำว่า คิทโตะ คัทซึในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่า คุณชนะแน่ๆ”  นี่เป็นเหตุผลหนึ่งของความสำเร็จที่ตามมาอย่างถล่มทลายของ KitKat ในญี่ปุ่น
ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ KitKat เคยร่วมมือกับที่ทำการไปรษณีย์ในญี่ปุ่น จัดแคมเปญให้ผู้บริโภคสามารถซื้อ KitKat แบบกล่องใหญ่ได้จากที่ทำการไปรษณีย์ แต่มันไม่ใช่แค่การซื้อช็อกโกแลตและมีคนไปส่งเท่านั่น  แต่พิเศษตรงที่เราสามารถเขียนข้อความ ขอให้โชคดีเพื่อส่งตรงให้ถึงมือผู้รับคนพิเศษ  แคมเปญนี้ได้ถ่ายทอดผ่านรายการโทรทัศน์และประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายมากมาย  มีคนญี่ปุ่นจำนวนมากตัดสินใจซื้อช็อกโกแลต KitKat เพื่อให้เป็นของขวัญสุดพิเศษ สำหรับคนคนที่รอประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่กำลังมาถึง
ด้วยความหมายที่ดีของชื่อ KitKat และรูปแบบการนำเสนอของตัวผลิตภัณฑ์ KitKat ได้ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ช็อกโกแลตที่ขายดีอันดับ 1 ในญี่ปุ่นเมื่อปี 2012   และตัวแคมเปญที่จับมือกับไปรษณีย์ญี่ปุ่นสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากกว่า 11 ล้นเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวเลขที่คุ้มค่าอย่างมากสำหรับ KitKat กับผลลัพทธ์ที่เกิดขึ้น
2.     การผสานรสชาติ ความเป็นญี่ปุ่นของแต่ละภูมิภาคลงไป
และถ้า KitKat อยากจะขายของได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่แค่เพียงแค่ช่วงเวลาสอบเข้ามหาวิทยาลัยในเดือนมีนาคม เมษายน  KitKat เลยได้ทำการบ้านใหม่อีกครั้ง โดยทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับความเป็นญี่ปุ่น อย่างถี่ถ้วน
โดยคนญี่ปุ่นในแต่ละพื้นที่จะมีความภูมิใจในจุดเด่นของจังหวัดของตน  KitKat เลยได้นำจุดเด่นเหล่านั่นมาสร้างสินค้า โดยดึงจุดเด่นมาเพื่อทำการตลาดประชาสัมพันธ์จังหวัดของตนให้เป็นที่รู้จัก เช่นฮอกไกโดมีปู มันฝรั่ง และนมสด ส่วนพื้นที่อื่นๆ อาจมีผลไม้ประจำจังหวัด อาหารโดดเด่น หรือสินค้าที่ผลิตจากจังหวัดตนที่ภูมิใจนำเสนอ และอีกส่วนหนึ่ง คนญี่ปุ่นมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติรอบๆตัว และนิยมดื่มด่ำกับฤดูกาลผ่านทางอาหาร  KitKat จับจุดสำคัญตรงนี้ได้อยู่หมัด และสร้าง KitKat รสชาติต่างๆที่เข้าถึงธรรมชาติของคนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี
ดังนั่น นอกเหนือจากรสชาติพื้นฐาน เช่น Mike Chocolate , Dark  Chocolate และ White Chocolate แล้ว สำหรับประเทศญี่ปุ่น เลยได้ยกระดับความพิเศษให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยการคิดค้นรสชาติที่แตกต่างและหลากหลาย แต่ยังอยู่บนพื้นฐานจากเอกลักษณ์ที่คนในท้องถื่นภาคภูมิใจ และกลายเป็นเสน่ห์อันดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวสามารถจับจองเป็นเจ้าของได้ผ่านการเป็นของฝาก และกลายเป็นของสะสมรสชาติอร่อยสำหรับใครหลายคน
3.     การทำการตลาดของ KitKat ในญี่ปุ่น
ทางบริษัท เนสท์เล่ ผู้ผลิตได้ทำการตลาดในมิติต่างๆ อันเป็นเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จแบบสูงสุดของแบรนด์ โดยสรุปได้ทั้งหมด  7 ข้อดังนี้
1.     การปรับปรุงรูปแบบการจัดจำหน่ายให้เข้ากับรูปแบบการบริโภคของญี่ปุ่น ผู้บริโภคสสามารถหาซื้อ KitKat ได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบขนาดเล็กปกติ หรือใส่กล่องแบบลิมิตเต็ด
2.     รสชาติอื่นๆที่หาไม่ได้จากที่ไหน ด้วยการที่ชาวญี่ปุ่นมักจะมีนิสัยชอบค้นหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อลิ้มลองอยู่เสมอจากความต้องการนี้ เนสท์เล่ได้ทำการคิดค้นหาสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างมารองรับความต้องการที่หลากหลาย  มีให้ลองอย่างมากมาย ตั้งแต่สตรอเบอร์รี่จนถึงวาซาบิ มันเหมือนเป็นการเปิดโอกาสที่รสชาติที่เราได้แค่จินตนาการสามารถถูกทำให้มาลิ้งลองจริงๆ
3.     คิทแคททำการโปรโมทแบรนด์ผ่านทางของฝากสำหรับคนพิเศษ ในกรณีที่เดินทางไกลกลับมาจากสถานที่อื่น ด้วยราคาที่ไม่แพง และมีพื้นที่สำหรับเขียนข้อความให้ผู้รับอีกด้วย
4.     ญี่ปุ่นมีประชากรกว่า 127 ล้านคน และเป็นประเทศที่อัดแน่นไปด้วยอัตราการแข่งขันที่สูงลิบ เรื่องของกำลังใจ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆสำหรับคนญี่ปุ่น การออกเสียงยี่ห้อ KitKat ที่พ้องเสียงกับคำว่า คิทโตะ คัทซึ ก็ถือเป็นการสร้างแรงกำลังใจให้คนญี่ปุ่นได้มาก
5.    คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่หลงรักการได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆ ไม่ต่างจากนักเดินทางชาวต่างชาติที่มาเยือนดินแดนอาทิตย์อุทัยนี้ก็เช่นกัน การค้นหารสชาติของคิทแคทแบบที่หาจากที่ไหนไม่ได้ในโลก เป็นเหมือนการได้บรรลุจุดมุ่งหายในการมาเยือนญี่ปุ่น
6.    การใช้เอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค ผลิตภัณฑ์ Kitkat มีความชาญฉลาดในการหยิบเอากลิ่นไอแห่งเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค มาเป็นหัวใจการกระตุ้นยอดจัดจำหน่าย อาทิเช่น จังหวัดซิซุโอกะ คุณจะได้สามารถลิ้มรสชาติ KitKat รสวาซาบิได้ เป็นต้น
7.    ความเฉพาะตัว และผลิตแบบลิมิตเต็ด อิดิชั่น คือแรงดึงดูดในที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเพื่อให้ได้ครอบครอง เป็นปัจจัยสำคัญที่รักษาฐานของความต้องการได้อยู่เสมอ เพราะถ้าหากไม่จับจองในครั้งแรกที่ออก เมื่อกลับมาดูอีกครั้ง KitKat รุ่นนั่นอาจจะตกไปอยู่ในมือของคนอื่นแล้วก็เป็นได้



 url:http://blog.makewebeasy.com/2015/04/kitkat/